วัตถุประสงค์ของการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ







วัตถุประสงค์ของการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ พอสรุปได้ดังนี้

1. เพื่อจำกัดการนำเงินทุนเข้าประเทศหรือการส่งเงินทุนออก
2. เพื่อรักษาค่าภายนอกของเงินตราของประเทศให้มีเสถียรภาพ
3. เพื่อรักษาทุนสำรองเงินตราที่เป็นทองคำของประเทศและทรัพย์สินต่างประเทศไว้
4. เพื่อให้ประชาชนมีความเชื่อถือในความมั่นคงของเงินตรา
5. เพื่อสงวนเงินตราต่างประเทศเอาไว้ใช้ในภาระจำเป็น
6. เพื่อต้องการเงินตราต่างประเทศเอาไว้ชำระเงินต้นและดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย
หลักทรัพย์ซึ่งพลเมืองในประเทศอื่นถือไว้


** ผลเสียที่สำคัญของการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนก็คือ มักจะทำให้ประเทศต่าง ๆ ต้องรักษาดุลการค้าแบบทวิภาคซึ่งนับว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎของ Comparative Advantage โดยระบบการค้าแบบทวิภาคจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการผลิตลดน้อยลง

** ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของไทย เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ประเทศไทยได้เปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบเสรีหรือแบบลอยตัว ( Floating Exchange Rate ) อย่างมีการจัดการ กล่าวคือ สามารถเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทได้บ้างตามความเหมาะสม ซึ่งได้ส่งผลให้ค่าเงินบาทลดต่ำลงจากเดิมอย่างมาก

เมื่อมีการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้น ก็จะมีการซื้อการขาย... เป็นผลให้ต้องมีเงินระหว่างประเทศติดตามมาในด้านการเงินระหว่างประเทศนี้เป็นผลทำให้เกิดดุลการค้าและดุลการชำระเงินระหว่างประเทศขึ้น




BACK
HOME
NEXT


Free Web Hosting