ดุลการค้า(Balance of trade)






ดุลการค้า หมายถึง... การเปรียบเทียบมูลค่าสินค้าออกกับมูลค่าสินค้าออกกับมูลค่าสินค้าเข้าของประเทศในระยะเวลา 1 ปี การเปรียบเทียบจะจำกัดเฉพาะมูลค่าตามบัญชีเดินสะพัดเท่านั้น ได้แก่ รายรับซึ่งคิดจากมูลค่าของสินค้าออก ณ แหล่งผลิต ส่วนรายจ่าย คิดจากมูลค่าของสินค้านำเข้ามารวมกับค่าบริการในการนำเข้า คือค่าประกันภัยและค่าระวาง แต่ไม่รวมรายการที่เกี่ยวกับบริการด้านอื่น เช่น การท่องเที่ยวต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่อต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการศึกษาต่อต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายทางการทูต การช่วยเหลือจากต่างประเทศ การกู้ยืมจากต่างประเทศ เป็นต้น ภาวะของดุลการค้าจำแนกออกได้ 3 ลักษณะ คือ...

1.1 ดุลการค้าสมดุล หมายถึง มูลค่าส่งออกเท่ากับมูลค่านำเข้า สมมุติในปีหนึ่ง ประเทศไทยส่งสินค้าออกไปขายได้ 10,000 ล้านบาท ในขณะเดียวกันก็มีการสั่งสินค้าเข้ามา 10,000 ล้านบาท ทำให้ประเทศไทยมีดุลการค้าระหว่างประเทศสมดุลเท่ากับ 10,000 ล้านบาท เป็นต้น

1.2 ดุลการค้าขาดดุล หมายถึง มูลค่าส่งออกน้อยกว่ามูลค่านำเข้า เช่น สมมุติในปีหนึ่งประเทศไทยส่งสินค้าออกไปขายได้ 10,000 ล้านบาท แต่สั่งสินค้าเข้ามามีมูลค่าถึง 15,000 ล้านบาท ทำให้ประเทศไทยมีดุลการค้าระหว่างประเทศขาดดุลเท่ากับ 5,000 ล้านบาท เป็นต้น

1.3 ดุลการค้าเกินดุล หมายถึง มูลค่าส่งออกมากกว่ามูลค่านำเข้า เช่น สมมุติในปีหนึ่งประเทศไทยส่งสินค้าออกไปขายได้ 10,000 ล้านบาท แต่สั่งสินค้าเข้ามาเพียง 8,000 ล้านบาท ทำให้ประเทศไทยมีดุลการค้าระหว่างประเทศเกินดุลเท่ากับ 2,000 ล้านบาท เป็นต้น
............................................................................................
ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่มักมีดุลการค้าขาดดุล คือ... มีมูลค่าการส่งออกน้อยกว่ามูลค่าการนำเข้าเพราะประเทศกำลังพัฒนามีความต้องการสินค้าทุนได้แก่ เครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ เทคโนโลยีการผลิต ซึ่งมีราคาแพงเข้ามาใช้พัฒนาประเทศ แต่สินค้าออกที่ เป็นผลิตผลด้านการเกษตรมักมีราคาต่ำ จึงต้องประสบกับปัญหาดุลการค้าขาดดุลในระยะ เร่งรัดพัฒนาประเทศ




BACK
HOME
NEXT


Free Web Hosting